เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม 2566 จังหวัดลำพูน โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน นำโดย นางสิริรัตน์ โอภาพได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นครหริภุญชัย สู่การสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โครงการลำพูนเมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอัตลักษณ์วิถี สู่เศรษฐกิจสรรสร้าง ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจ และจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดลำพูน สู่การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่บนฐานดิจิทัล และเป็นประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์จังหวัดลำพูนให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ซึ่งมีหน่วยงานทางภาครัฐ องค์กรเครื่อข่ายด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว รวมไปถึงสื่อมวลชนให้ความสนใจร่วมเดินทางท่องเที่ยวไปด้วย ซึ่งโปรแกรมเส้นทางท่องเที่ยว “ตามรอยพระนางจาม ตามทางพระเจ้ากาวิละ โตยฮอยบุญครูบาศรีวิชัย เปิด 4 เส้นทางท่องเที่ยวม่วนใจ นครลำพูน” ประกอบไปด้วย
วันที่ 11 ธันวาคม 2566
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านปวงคำ อำเภอลี้
ชมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านปวงคำที่วัดปวงคำ เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เมืองลี้โบราณและเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่มีการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในทุกด้านสู่ความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ “ผ้าชื่นจกโหล่งลี้” ที่มีความงดงามด้วยลวดลายสร้างสรรค์ ตามจินตนาการของผู้ทอในอดีต และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงามล้อมรอบ
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พระพุทธบาทห้วยต้ม
เส้นทาง”โตยฮอยครูบาศรีวิชัย ต้นกำเหนิดตํนบุญหลวงแห่งล้านนาศรัทธาแห่งชาติพันธุ์กะเหรี่ยง” ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นหมู่บ้านแห่งศรัทธาแห่งธรรม
และชุมชนมังสวิรัติ ชาวบ้านของที่นี่เป็นชาติพันธุ์ปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยง มีการจำลองวิถีชีวิตทั้งบ้านเรือนโบราณ และสาธิตวิธีการทอผ้า ที่ยังคงทอด้วยวิธีโบราณที่เรียกว่า กี่เอว ด้วยการร้อยเรียงเส้นด้ายที่ละเส้น ด้วยความบรรจง ชาวบ้านอยู่อย่างพอเพียง ผู้หญิงส่วนใหญ่มีอาชีพทอผ้า ส่วนผู้ชายมีอาชีพรับจ้างทั่วไปและทำการเกษตรบ้านแต่ละหลังสร้างด้วยความเรียบง่าย และมีกองฟืนสำหรับหุงต้มไว้ใต้ถุนบ้าน สิ่งที่ทำให้ชุมชนนี้มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ คือ ผู้คนในหมู่บ้านพร้อมใจรักษาศิล ปฏิบัติธรรมและทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเป็นแบบอย่างของชุมชนพระพุทธศาสนาที่แท้จริง
“ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เครือข่ายอำเภอแม่ทา”
ยลวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ ไทลื้อ ไทยอง กะเหรี่ยง บนความหลากหลายในมิติทางประวัติศาสตร์เส้นทางท่องเที่ยวนครหริภุญชัย ร่วมทำกิจกรรมที่สะพานขาวทาชมภู อยู่ระหว่างสถานีขุนตานกับ
สถานีทาชมพู ซึ่งสะพานประวัติศาสตร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. 2463 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟจากลำปางมายังเชียงใหม่ สะพานขาวบ้านทาชมภู
ก่อสร้างต่อจากอุโมงค์รถไฟขุนตาน ซึ่งเป็นเส้นทางสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อให้รถไฟข้ามผ่านลำน้ำแม่ทา มีลักษณะทรงโค้งทาสีขาว และเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันต
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านแพะต้นยางงาม อำเภอบ้านธิ
ชวนให้หลงไปในยุคประวัติศาสตร์ “ตามทางพระเจ้ากาวิละ เส้นสายลายศิลป์ ถิ่นวัฒนธรรมไทลื้อ- ไทยอง ” ที่ยังคงขนบ-จารีต วัฒนธรรมแบบชาวไทลื้อแห่งนครรัฐสิบสองปันนา แม้จะอพยพเคลื่อนย้ายถ่ายพลมานานกว่า 200 ปี ไม่ว่าจะเป็น ประเพณี พิธีกรรม ภาษา และศิลปะการทอผ้า อีกทั้งยังผสมผสานความเป็นชุมชนแห่งวัฒนธรรมสามไต คือ ไทลื้อ ไทยอง ไทยวน
วันที่ 12 ธันวาคม 2566
“ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านโฮ้ง”
เส้นทาง”โตยฮอยครูบาศรีวิชัย ต้นกำเหนิดตุ๋นบุญหลวงแห่งล้านนา” สักกาการะ อุโบสถอุปสัมปทาสถานครูบาศรีวิชัย และอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ณ วัดบ้านโฮ่งหลวง สถานที่อุปสมบท ครูบาศรีวิชัย สมัยเป็นสามเณรอินท์เฟือน เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็นสรีวิไชย สิวิไช หรือสรีวิชัย
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านป่าป่วย อำเภอบ้านโฮ่ง
เส้นทางประวัติศาสตร์ “ตามรอยพระนางจาม เส้นประวัติศาสตร์ทางการเดินทางจากละโว้สู่นครหริภุญชัย” วิหารวัดหนองดู่ ซึ่งเป็นวิหารศิลปะมอญแห่งเดียวในจังหวัดลำพูน เยี่ยมชมโบราณสถานวัดเกาะกลาง ชุมชนคนมอญดั้งเดิมแห่งนครหริภุญชัยที่ยังปรากฎหลักฐานทางโบราณคดี ที่วัดเกาะกลางแห่งนี้น่าจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการสืบค้นอดีต แม้ว่าคนมอญส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนี้จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตให้เข้ายุคสังคมในปัจจุบันไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยสายเลือดของคนมอญที่ฝังรากอยู่ในมโนสำนึกแล้วทุกๆ ปีชาวบ้านเกาะกลางจะจัดงานเทศกาลฟ้อนผีเม็งซึ่งเป็นวัฒนธรรมเดียว ที่ยังถูกถ่ายทอดมาจนถึงลูกหลานเป็นการสานต่อวัฒนธรรมของพวกเขาไว้ไม่ให้สูญสลายวัฒนธรรมมอญ
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาตร์บ้านหนองเงือก
เส้นทางประวัติศาตร์”ตามทางพระเจ้ากาวิละ เส้นสายลายศิลปั ถิ่นวัฒนธรรมไทลื้อ – ไทยอง” และเชื่อมโยงเส้นทาง “เส้นทางท่องเที่ยวม่วนใจ ละปูนเมืองเก่า เล่าเรื่อง 1 วัน” ผ่านการเคลื่อนย้าย ชาวไทยองบ้านเวียงยอง สู่ บ้านหนองเงือก ชมความงดงามทางสถาปัตยกรรมของศาสนสถานวัดบ้านหนองเงือกวิหารหลวงศิลปะล้านนา / “คะตึก” หรือหอธัมม์ศิลปะมอญ
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ บ้านต้นแก้ว
“เส้นทางท่องเที่ยวม่วนใจ๋ ละปูนเมืองเก่า เล่าเรื่อง ๑ วัน” ชุมชนชาวยองขนาดใหญ่ ที่เคลือนย้ายมาจากเมืองยอง และยังเป็นชุมชนชาวยองเพียงแห่งเดียวที่เรียกตัวเองว่า “คนยอง” อันเนื่องมาจากการได้รับการยกฐานะจากเจ้าหลวงนครลำพูนในสมัยนั้น จาก “บ้าน” เป็น “เมือง”