องค์กรพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน จับมือสร้างสรรค์โครงการต้นแบบ ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋ (Lamphun Healing Town) พัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจเมืองเก่าลำพูน
คลิปข่าว
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ณ คุ้มเจ้ายอดเรือน ถนนรถแก้วตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) บริษัทด้านชีวเภสัช (Biopharma) ที่เป็นผู้นำในการค้นคว้าและวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมระดับโลก โดยเภสัชกรหญิงจิราภา เปรมปลื้มจิตต์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ และบริษัท ลำพูน ซิตี้ แลป จำกัด โดย นายไชยยงค์ รัตนอังกูร ผู้อำนวยการ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างองค์กรพันธมิตร ในการขับเคลื่อนโครงการต้นแบบ ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋ (Lamphun Healing Town) พัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจ ถนนรถแก้ว ย่านเมืองเก่าลำพูน โดยได้รับเกียรติจากนายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธี นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน และรศ. นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี
ซึ่งในการแถลงโครงการ มี คุณไชยยง รัตนอังกูร กรรมการ ผู้อำนวยการบริหาร ลำพูน ซิตี้ แลป กล่าวแนะนำและความเป็นมาของโครงการ ,รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน อธิบาย “โครงการพัฒนานที่แห่งความสุขกายสบายใจ ถนนรถแก้วและพื้นที่เกี่ยวเนื่องย่านเมืองเก่า จังหวัดลำพูน (Lamphun Healing Town)” ,คุณโสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท แกล็กโซ สมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวภาพรวมการสนับสนุนโครงการ Lamphun Healing Town ทั้ง 3 โครงการย่อยได้แก่ โครงการด้าน Air Pollution, Respi Health และ Recycle
1.โครงการด้าน Air Pollution โครงการพัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจ ถนนรถแก้วย่านเมืองเก่าลำพูน เพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่ออกกำลังกาย ทำผ้าป่าต้นไม้ และติดตั้งหอ ฟอกอากาศ
2.โครงการด้าน Respi Health เป็นการจัดการตรวจสมรรถภาพปอด ให้แก่ประชาชน และจัดการเสวนาเรื่องโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งมีการออกหน่วยตรวจสมรรถภาพปอด
3.โครงการด้าน Recycle เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำรีไซเคิล ของ ยาพ้นโรคหอบหืด
ซึ่งถนนรถแก้ว เป็นถนนที่มีความสำคัญ เป็นถนนที่เชื่อมโยง 2 แลนด์มาร์คของเมืองลำพูน วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ และวัดมหาวัน หรือวันพระรอด ที่เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และยังเป็นจุดศูนย์รวมศรัทธาของคนลำพูน พื้นที่บริเวณนี้มีกิจกรรมของการจัดตลาดนัด ข่วงพันปี ทุกวันศุกร์และเสาร์ มีการรวมตัวกันของผู้สูงอายุและคนทุกเพศทุกวัยมาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานโครงการลำพูน ฮีลลิ่ง ทาวน์ จะบนถนนรถแก้ว จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงไปยังถนนสายอื่นๆและสถานที่สำคัญอื่นๆในเขตเมืองเก่า ซึ่งจะทำให้เกิดโครงข่ายการท่องเที่ยว และโครงข่ายเศรษฐกิจเมือง และโครงข่ายของพื้นที่สีเขียวในอนาคตเข้าด้วยกัน
รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ลำพูน ซิตี้ แล็ป จำกัด กล่าวว่า โครงการต้นแบบ ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋ (Lamphun Healing Town) เกิดจากการริเริ่มพัฒนาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ประกอบกับมีงานวิจัยสนับสนุน จนนำไปสู่การต่อยอดเพื่อออกแบบพื้นที่ ออกแบบกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับคนทุกเพศทุกวัย แนวคิดของโครงการก็คือ การทำให้ทุกองค์ประกอบของเมืองลำพูนช่วยเยียวยา ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างความร่มรื่น จัดการระบบระบายน้ำ จัดการระบบแสงสว่าง จัดการระบบสัญจร ลดมลพิษทางอากาศ ด้านสุขภาพ โดยเพิ่มพื้นที่ออกกำลังกาย ร่มรื่น มีร่มเงา หายใจสะดวก พื้นที่ผ่อนคลายด้วยงานศิลป์ ด้านเศรษฐกิจ โดยเชื่อมโยงพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ให้เกิดความน่าลงทุน เน้นภาพลักษณ์ด้านสุขภาวะที่ดี ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัท ลำพูน ซิตี้ แลป จำกัด จะมีบทบาทในการเชื่อมประสานหน่วยงานทั้งรัฐ เอกชน และชุมชน ในจังหวัดลำพูน และดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจ ถนนรถแก้ว ย่านเมืองเก่าลำพูน
ด้านนายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน กล่าวว่า เทศบาลเมืองลำพูนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น ในขณะเดียวกัน การทำให้เมืองเป็นเมืองเดินได้ การมีอากาศบริสุทธิ์ และสุขภาพของประชาชน เป็นสาระสำคัญของการพัฒนาเมือง โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองลำพูนในแผนพัฒนาท้องถิ่น ปี 66-70 ข้อหนึ่ง มีเป้าหมายให้เมืองลำพูนเป็นเมืองแห่งคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพประชาชนในเขตเทศบาลเมือง ตลอดจนการพัฒนาภูมิสถาปัตย์ในเขตเมืองเก่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่จะเกิดประโยชน์ต่อภาพรวมหลายมิติ ทั้งด้านสุขภาวะทั้งกายและใจ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นที่ถนนรถแก้ว เป็นถนนที่มีความสำคัญ เป็นถนนที่เชื่อมโยง 2 แลนด์มาร์กของเมืองลำพูน วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ และวัดมหาวัน หรือวันพระรอด ที่เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ และยังเป็นจุดศูนย์รวมศรัทธาของคนลำพูน พื้นที่บริเวณนี้มีกิจกรรมของการจัดตลาดนัดข่วงพันปี ทุกวันศุกร์และเสาร์ มีการรวมตัวกันของผู้สูงอายุและคนทุกเพศทุกวัยมาอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่า โครงการต้นแบบ ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋ (Lamphun Healing Town) บนถนนรถแก้วจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงไปยังถนนสายอื่นและสถานที่สำคัญอื่น ๆ ในเขตเมืองเก่า ซึ่งจะทำให้เกิดโครงข่ายการท่องเที่ยว และโครงข่ายเศรษฐกิจเมือง และโครงข่ายของพื้นที่สีเขียวในอนาคตเข้าด้วยกัน
ส่วนทางด้านนางโสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านชีวเภสัช (Biopharma) GSK ต้องการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการปกป้องและฟื้นฟูสุขภาพของโลก โดยได้ประกาศนโยบายในการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม โดยการใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% และปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ในทุกการดำเนินงานภายในปี 2573 บริษัทฯ ตระหนักดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และชีวิตของผู้คนมากขึ้น เช่น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ จังหวัดลำพูนมีการดำเนินนโยบายแผนภูมิสังคมเมืองเก่าลำพูนของจังหวัด ซึ่งจาก 1 ใน 8 นโยบาย คือเรื่อง การขับเคลื่อนเมืองไร้มลพิษ สวนป่าในเมือง และพื้นที่สาธารณะแก่คนทุกวัย เพื่อเพิ่มพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเติมเต็มความสุขกายสบายใจให้แก่ผู้คนในลำพูน
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมของ GSK เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดและชุมชนชาวลำพูน โดยได้ร่วมกับลำพูนซิตี้ แลป ริเริ่มโครงการต้นแบบ ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋ (Lamphun Healing Town) เพื่อสนับสนุนการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของลำพูน โดย GSK จะช่วยสนับสนุนลำพูนซิตี้ แลป ในการดำเนินโครงการ Lamphun Healing Town เพื่อปรับปรุงทุกองค์ประกอบของ ถ.รถแก้ว เมืองลำพูน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างความร่มรื่น จัดการระบบแสงสว่าง ลดมลพิษทางอากาศ เพิ่มพื้นที่ออกกำลังกาย ร่มรื่น มีร่มเงา หายใจสะดวก รวมทั้งการประสานกับเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (EACC) และสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย (Thai NCD) เพื่อหารือร่วมหน่วยงานท้องถิ่นในการประเมินผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อไป”
Like (0)