หน้าแรก ข่าวเชียงใหม่ แม่ทัพภาคที่ 3 สรุปภารกิจ ระบุครึ่งปียึดยาบ้า กว่า 51 ล้านเม็ด

แม่ทัพภาคที่ 3 สรุปภารกิจ ระบุครึ่งปียึดยาบ้า กว่า 51 ล้านเม็ด

358
0

แม่ทัพภาคที่ 3 ประชุม ศอ.ปส.ชน.สรุปภารกิจครึ่งปีแรกพร้อมเดินหน้าดูแลความมั่นคงแนวชายแดนสกัดกั้นสิ่งผิดกฎหมาย ระบุครึ่งปียึดยาเสพติดจำนวนมาก ยาบ้ามากสุดกว่า 51 ล้านเม็ด

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น.พลโท สุริยะ เอี่ยมสุโร แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดประชุมคณะทำงานศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศอ.ปส.ชน.) ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 1(รอบ 6 เดือน ห้วง 1 ต.ค. 65 – 31 มี.ค. 66) ที่ ห้องประชุม Convention 1 – 2 โรงแรมวินทรี ชิตี้ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พล.ต.ต.พฤทธิพงษ์ ประยูรศิริ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 นายสานิตย์ อ่อนเปี่ยม ผู้อำนวยการส่วนกิจการโครงการพิเศษสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า ในห้วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2566 (ต.ค. 65 – มี.ค. 66) ศอ.ปส.ชน. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบ (จ.เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และพะเยา) โดยมีการจับกุมจำนวน 241 ครั้ง สามารถตรวจยึดยาบ้า จำนวน 51,562,885 เม็ด, ไอซ์ 1,296.67 กก., เฮโรอีน 6.73 กก., ฝิ่นดิบ 60.09 กก., เคตามีน 300 กก. และผู้ต้องหารวม 249 คน เมื่อเปรียบเทียบกับห้วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2565 พบว่า ผลการจับกุม/ตรวจยึด ยาบ้าและไอซ์ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50

ถึงแม้ Ephedrine/Pseudoephedrine และ P-2-P จะยังคงสารตั้งต้นหลักในการผลิตเมทแอมเฟตามีน (ไอซ์และยาบ้า) แต่เนื่องจากสารดังกล่าว เป็นสารเคมีควบคุมตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน การลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1988 ทำให้ยากต่อการจัดหาและขนส่ง ปัจจุบันพบว่า กลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดใช้สารเคมีชนิดอื่น เช่น สารเบนซิลไซยาไนด์ (C8H7N), สารเบนซิลคลอไรด์ (C7H7Cl) นำมาเป็นสารตั้งต้นเพื่อใช้ในการผลิตยาเสพติดแทน โดยเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้ตรวจยึดและอายัด สารเบนซิลไซยาไนด์ จำนวน 25,000 กก. ที่ ด่านศุลกากรแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งจากการสอบสวนทราบว่า สารดังกล่าวถูกส่งมาจากประเทศอินเดีย โดยบริษัทสัญชาติจีนเป็นผู้สั่งซื้อ เพื่อนำผ่านประเทศไทยทางท่าเรือแหลมฉะบังไปยังประเทศเมียนมา แต่เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจอยู่ในความควบคุมของหน่วยงานมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน ซึ่งอาจเป็นการยากในการควบคุม ศอ.ปส.ชน. ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้บูรณาการหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจและกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหา ทั้งยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจการนำเข้า/ส่งอกก และการนำไปใช้ ของบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีควบคุมในความคอบครอง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องปรามการลักลอบลำเลียงสารเคมีออกนอกประเทศไปใช้ในการผลิตยาเสพติด นอกจากภารกิจในการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดแล้ว

ทั้งนี้ แม่ทัพภาคที่ 3 ได้มีนโยบายในการบำบัด ผู้ติด/ผู้เสพเสพยาเสพติด ซึ่งสอดคล้องกับสาระสำคัญของประมวลกฎหมายยาเสพติดที่กำหนดให้ผู้เสพคือผู้ป่วย มีขั้นตอนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพทางสังคม โดยศูนย์คัดกรองระดับตำบล จะคัดกรองปัญหาการใช้ยาเสพติดพร้อมให้การช่วยเหลือและส่งต่อไปยังสถานพยาบาลตามความหนักเบาของปัญหา และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้ว จะถูกส่งไปยังศูนย์ฟื้นฟูสภาพสังคมเพื่อส่งเสริมอาชีพ การศึกษา และสวัสดิการทางสังคม
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ศอ.ปส.ชน. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการค้นหา คัดกรอง ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้เข้าสู่กระบวนการบำบัดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบันยังคงมีความรุนแรง เนื่องจากมีปริมาณสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์เข้าสู่แหล่งผลิตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเครือข่ายยาเสพติดที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยยาบ้าและไอซ์ ยังคงเป็นยาเสพติดหลักที่แพร่ระบาด อีกทั้ง ยังควรเฝ้าระวังการใช้เฮโรอีนในกลุ่มผู้เสพในพื้นที่ตัวเมือง และสารเสพติดรูปแบบใหม่ กลุ่ม Club drugs เช่น Happy water ในกลุ่มนักเที่ยวสถานบันเทิง ทั้งนี้ จากสถิติการจับกุมคาดว่าการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่ประเทศไทย มีแนวโน้มการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเข้าทางด้านทิศตะวันตะวันออกเฉียงเหนือลดลง สำหรับพื้นที่ภาคเหนือตอนบนยังคงเป็นพื้นที่หลักในการลักลอบลำเลียงยาเสพติด นอกจากนี้ ยังควรต้องเฝ้าระวังการลักลอบลำเลียงยาเสพติดด้านทิศตะวันตกด้วย

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้ทีม Daywork คว้ารางวัลชนะเลิศ จาก Krungsri UPcelerator เตรียมบินร่วมงานใหญ่ที่สิงคโปร์
บทความถัดไปประชุมผู้ประนีประนอมของศาลจังหวัดเชียงใหม่