หน้าแรก ข่าวเชียงใหม่ ฉลองครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตรจัดงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ภาคเหนือตอนบน

ฉลองครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตรจัดงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ภาคเหนือตอนบน

300
0

กรมวิชาการเกษตรจัดงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี ภาคเหนือตอนบน ฉลองครบรอบ 50 ปี อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

คลิปข่าว

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมาย จาก นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด งาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคเหนือตอนบน นวัตกรรมพืชพร้อมใช้ พัฒนาเกษตรกรไทยยั่งยืน” ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566 คาดเกษตรกรร่วมงานกว่า 2,000 ราย

โอกาสนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อ ขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย ยกระดับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ตลาดผักผลไม้ปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และ Organic Thailand, จริงใจมาร์ เก็ตเชียงใหม่ตลาดช่วงเกษตรอินทรีย์ และ ตลาดนัดเกษตรสีเขียวศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

รวมถึงการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น การปลูกต้นนางพญาเสือโคร่ง ที่มีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชม โดยขยายพื้นที่ปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ให้ ได้อย่างน้อยปีละ 10,000 ต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว ทั้งยังเป็นการลดฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งมักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกๆ ปี ในปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน

การผลิตพืชที่ให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนิน ภารกิจทั้งทางด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าเกษตร สร้างแรงจูงใจเชิงบวกแก่กลุ่มเกษตรกร จนได้รับการรับรองแหล่งผลิตพืชจนได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 13,859 ราย พื้นที่ 138,387 ไร่ และ รับรองแปลงผลิตพืชอินทรีย์ จำนวน 119 ราย พื้นที่ 1,809 ไร่

ในส่วนของงานถ่ายทอดเทคโนโลยีภาคเหนือตอนบน นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กล่าวว่า สวพ 1.และหน่วยงานเครือข่ายกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน ได้ร่วมกันจัดนิทรรศการต่าง ๆ ที่น่าสนใจเป็นอันมาก โดยภายในงานได้แบ่งกิจกรรม ออกเป็นโซนต่างๆ ดังนี้

โซนที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการผลิตและแปรรูป

โซนที่ 2 นวัตกรรมกาแฟอะราบิกาครบวงจรสู่ระดับสากล

โซนที่ 3 ชีวภัณฑ์ก้าวหน้า ลดพึ่งพาสารเคมี

โซนที่ 4 มุ่งสู่ BCG ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ โซนที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบพืชด้วยนวัตกรรมการผลิตพืชไร่

โซนที่ 6 มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อนระดับโลก โซนที่ 7 ยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชเพื่อการส่งออก และเพิ่มศักยภาพพืชท้องถิ่นด้วยงานวิจัย และนวัตกรรม

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรวางแผนลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น จังหวัดเชียงใหม่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ThaiPAN) ในการจัดหาช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มั่นคง เพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตส้มปลอดภัย นำร่องในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงการผลิตพืชผักปลอดภัย นำร่องในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ให้สามารถยกระดับสินค้าเกษตรให้กับ ผู้บริโภคได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้าเกษตรปลอดภัยได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

“นับเป็นเรื่องน่ายินดีและเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่หน่วยงานได้ร่วมกันดำเนินการจัดงานเพื่อร่วมเฉลิม ฉลองเนื่องในโอกาสที่กรมวิชาการเกษตรก่อตั้งครบ 50 ปี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ผลงานของกรมวิชาการ เกษตรที่ได้ผลิตงานวิจัยด้านพืช และเทคโนโลยีการเกษตรที่มีคุณค่า

ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตร ของประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นการกระตุ้น เร่งเร้าให้หน่วยงานต่าง ๆ หาทางเร่งรัดช่วยเหลือเกษตรกรให้ เรียนรู้ และมีความเข้าใจ ในกระบวนการผลิตพืชที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับสภาพของแต่ละ พื้นที่และคุ้มค่ากับการลงทุน โดยได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้” อธิบดีกรม วิชาการเกษตรกล่าว

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้AOT เปิดงานประชุมเจรจาธุรกิจ The Route Development Forum for Asia 2023
บทความถัดไปคณะวิจิตรศิลป์ มช. เปิดโครงการ เทศกาลวิจิตรศิลป์ FOFA CMU ART FESTIVAL