หน้าแรก ข่าวจังหวัดพะเยา วิกฤตนกยูงไทย “คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้” ฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงไทย สู่แบนด์รำแพน

วิกฤตนกยูงไทย “คนอยู่ได้ นกยูงอยู่ได้” ฐานที่มั่นสุดท้ายของนกยูงไทย สู่แบนด์รำแพน

995
0

คลิปวีดีโอ

จังหวัดพะเยาได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งนกยูงไทย เนื่องจากปัจจุบันมีการพบนกยูงสายพันธุ์ไทยจำนวนมากในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ อ.จุน และถือว่ามีนกยูงอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป นกยูงจะออกมาหากินบริเวณข่วงในพื้นที่อำเภอจุน มากกว่า 20 แห่ง ซึ่งในเขตตำบลห้วยยางขามถือเป็นอีกแหล่งที่นกยูงออกมาหากิน โดยเฉพาะเขตอ่างเก็บน้ำห้วยยางขาม ซึ่งนอกจากจะมีนกยูงออกมาหากินเป็นจำนวนมาก

แต่เมื่อนกยูง สัตว์ป่าและนกต่างๆออกมาหากินในช่วงนี้ จะไปรบกวนต้นข้าวและผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆของเกษตรกร ที่มีพื้นที่ติดกับเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วยการจัดสร้างพื้นที่แหล่งอาหารนกยูง โดยการจัดทำโครงการเขตพื้นที่จัดแปลงพืช อาหารสัตว์ และข่วงนกยูง ขึ้นสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยพะเยาซึ่งร่วมกับชมรมอนุรักษ์นกยูงไทยอำเภอจุน ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการสานต่อ และขยายเครือข่ายชุมชนต้นแบบรักษ์นกยูงไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายประชาชนที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์นกยูงในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนให้มีความภาคภูมิใจในระบบนิเวศทางชีวภาพของท้องถิ่นตนเอง รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน

โดย ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้กล่าวว่า
“ถ้าในโครงการเกี่ยวกับเรื่องของรำแพนนะคะ จริงๆแล้วรำๆแพนคือแบรนด์สินค้านึงที่อยากจะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวการอนุรักษ์นกยูงไทยโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ร่วมมือกับชุมชนในการที่จะพัฒนา product เพื่อที่จะให้เกิดการอนุรักษ์นกยูงแล้วก็ส่งเสริมชุมชนที่เรามีคอนเซ็ปว่า คนอยู่ได้นกยูงอยู่ได้ อย่างยั่งยืนค่ะ

ในโครงการนี้นะคะก็มีผลิตภัณฑ์มากมายที่อยากจะนำเสนอเป็นผลิตภัณฑ์มาจากป่าธรรมชาติที่มีนกยูงอาศัยอยู่ในชุมชน ด้วยที่นกยูงที่มีอยู่เยอะ ทำให้เกิดปัญหานกยูงลงมากินข้าวของชาวบ้านก็เลยมีการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างไร อันนี้เป็นโจทย์ที่เรากำลังทำงานร่วมกับชุมชนแล้วก็ภาครัฐภาค ภาคเอกชนที่ขับเคลื่อนร่วมกันในจังหวัดพะเยาแล้วก็ยังมีเครือข่ายอีกหลายๆจังหวัดที่ทำงานร่วมกันนะคะ

ประเด็นเรื่องของนกยูงกับคนมีมานานแล้วค่ะในพื้นที่ก็ตั้งแต่ประมาณ ปี 2550-2551 ทางชุมชนโดยเฉพาะอำเภอจุน ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอก็ได้ร่วมมือกับชุมชนเพื่อที่จะอนุรักษ์นกยูงแล้วก็ให้คนกับนกอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ในขณะที่นกยูงลงมากินข้าวของชาวบ้านเราก็เกิดวิกฤตกัน ม.พะเยา ก็ได้ลงเข้าไปทำวิจัย ประมาณสักปี 58-59 โดยทุนของ BEDO วช. เป็นโครงการเล็กๆแต่ได้ขยายผลจากโครงการเล็กๆนี้เป็นโครงการใหญ่ขึ้น

ในปัจจุบันนี้ก็จะมีนักวิจัยที่อยู่ในโครงการร่วมเกือบ 30 คนที่ทำวิจัยทั้งเรื่องของถิ่นที่อยู่อาศัยนกยูงจะทำอย่างไรให้นกยูงอาศัยอยู่ในป่าอย่างอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษาประชากรนก ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่หรือเรื่องของที่อยู่อาศัยที่จะต้องให้อุดมสมบูรณ์รวมไปถึงงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของสังคมวัฒนธรรมความเชื่อความศรัทธาแล้วไปสู่เศรษฐกิจ ทั้งหมดที่เป็นงานวิจัยเหล่านี้ ได้ลงสู่ชุมชนเพื่อให้ทำอย่างไรให้คนอยู่ได้นกอยู่ได้ ตอนนี้ก็ยังขับเคลื่อนงานวิจัยต่างๆร่วมกับชุมชนอยู่แล้วก็มีกิจกรรมต่างๆมากมาย โดยที่ชุมชนก็ขับเคลื่อนจากวิกฤตเป็นโอกาสอย่างเช่นที่อ่างเก็บน้ำห้วยยางขาม ในหมู่บ้านดงเคียนที่อำเภอจุนก็มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

จากการที่เราทำ Buffer Zone ให้นกยูงกินข้าวเฉพาะส่วนที่กันเขตพื้นที่ เพื่อไม่ให้ไปรบกวนนาของคนอื่น ก็กลายเป็นที่ดูนก กลายเป็นที่แคมป์ปิ้งไปดูปลากระโดด มีกิจกรรมท่องเที่ยวมากมายที่นั่น ตอนนี้ก็ยังให้บริการอยู่ค่ะก็เรียนเชิญไปแคมป์ปิ้งได้นะคะหรือบางหมู่บ้านค่ะก็มีการจัดการให้เป็นพื้นที่ที่อนุรักษ์นกยูงแล้วก็มีวัดที่มาช่วยนกยูง ไม่ให้นกยูงไม่ไปกินข้าวของชาวบ้าน ก็กลายเป็นจุดท่องเที่ยวต่างๆรวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชาขิง ชามะลิหรือว่าเป็นเรื่องของน้ำผึ้ง แม้กระทั่งสาโทค่ะ เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันอยู่ค่ะทั้งเป็นงานอาหาร งานผ้า งานเครื่องประดับต่างๆ อันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใต้รำแพน

แล้วก็ภายในวันที่ 29 มกราคม ก็จะมีงานวิ่งวิ่งเพื่อน้องนกยูง หาข้อมูลจากในเพจ Facebook Peafowl Run วิ่งเพื่อน้องนกยูง ห้วยข้าวก่ำ วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ณ ข่วงนกยูง 69 เทศบาลห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ปิดรับสมัคร วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ก็อยากจะรู้เชิญทุกท่านค่ะ เข้าไปร่วมงานเพื่อให้คนอยู่ได้นกอยู่ได้ค่ะ” ดร.ฤทัยภัทร พิมลศรี ได้กล่าวปิดท้าย

จากโครงการสู่ชุมชน ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยาทำให้เกิดการอนุรักษ์นกยูงไทย ทำอย่างไรให้คนอยู่ได้นกยูงอยู่ได้ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ถูกแปรผันแล้วก็พัฒนามาสู่ product ต่างๆที่อยู่ภายใต้แบรนด์รำแพน ที่เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมและสานต่อให้เกิดมิติที่ดีต่อระบบนิเวศทางชีวภาพของสัตว์ป่าและชุมชนต่อไป

พัชรินทร์ คันธรส/นที บุญมี ข่าวมุมเหนือ

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ตอกย้ำ ความร่วมมือของเครือข่ายทั่วโลก
บทความถัดไปเปิดนิทรรศการ “จิตรกรรม ลายคำ ภาพพระบฏ แรงบันดาลใจจากเมืองฮอด”