หน้าแรก ข่าวจังหวัดพะเยา อนุรักษ์สืบสาน จานคัมภีร์ใบลาน ภูมิปัญญาภาษาล้านนาที่แทบจะสูญหาย

อนุรักษ์สืบสาน จานคัมภีร์ใบลาน ภูมิปัญญาภาษาล้านนาที่แทบจะสูญหาย

851
0

สืบสานเขียนคำภีร์ใบลานด้วยดินสอเหล็ก ที่ชาวล้านนาทำกันมานานกว่า 1000 ปี แถมมีหนึ่งเดียวในจังหวัดพะเยาวัดพระธาตุโพธิ์งาม บ้านฝั่งหมิ่นหมู่ที่4 ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

พระอธิการปัญญา ถาวรปญโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม บ้านฝั่งหมิ่นหมู่ที่4 ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา สืบสานอนุรักษ์การจานคำภีร์ใบลาน ล้านนา เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ภาษาล้านนาทั้งเรื่องราวทางพุทธศาสนา ตำรายาโบราณและตําราโหราศาสตร์ ที่เป็นภาษาล้านนา โดยใช้วิธีการจานหรือเขียนไว้ในใบลาน เพื่อไม่ให้สูญหายไป

พระอธิการปัญญา ถาวรปญโญ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม กำลังนั่งจานใบลาน หรือเขียนอักขระภาษาล้านนาลงสู่ใบลาน พร้อมทั้งชุบน้ำยางที่ผสมกับควันไฟ(หมิ่นหม้อ)ให้มีสีดำที่คนโบราณที่ใช้ในการจารึกคำภีร์ต่างๆไว้ในใบลานเพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นซึ่ง ถือเป็นการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ที่ยังคงมีให้เห็นไม่มากนักในสมัยนี้ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา หรือจะเป็นหนึ่งเดียวในจังหวัดก็ว่าได้ที่ยังคงสืบสานอนุรักษ์การจานใบลาน แบบภาษาล้านนาดังกล่าวไว้

หลังพระปัญญา ถาวรปัญโญ ได้มีแนวคิดที่จะอนุรักษ์การจานใบลานแบบโบราณดังกล่าวไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายไป และยังคงที่จะร่วมสืบทอดเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ร่วมกันศึกษาภาษาล้านนาให้คงอยู่พร้อมให้ความรู้ฝึกสอนสำหรับคนที่สนใจไปเรียนที่วัดพระธาตุโพธิ์งามได้

โดยพระปัญญาเล่าว่า การจานใบลานดังกล่าวนั้น ในอดีตจะมีการทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการจดบันทึกของคนสมัยโบราณนั้นจะไม่มีสมุด หนังสือเหมือนปัจจุบัน จะเก็บข้อมูลเรื่องราวต่างๆไว้ในใบลาน ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะใช้ภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นบทสวดมนต์ คาถา ตำรายา เรื่องราวทางพุทธศาสนา ตนเองเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ และผู้รู้ตามที่ต่างๆจากนั้นจึงได้ทำการอนุรักษ์และสืบทอด เพื่อให้เณรที่อยู่ในวัดตลอดจนชาวบ้าน ได้ทำการศึกษาเพื่อเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ไม่ให้สูญหาย และเพื่ออนุรักษ์คัมภีร์โบราณภาษาล้านนาต่างๆไว้ให้ได้ศึกษากันต่อไป

ซึ่งการบันทึกไว้ในใบลานนั้นจะไม่ค่อยเกิดการเสียหาย จึงได้สืบสานและอนุรักษ์ไว้เพื่อให้คงอยู่คู่กับชาวล้านนาตลอดไป


สำหรับการจานคำภีร์ใบลานนั้น จะทำการโดยการคัดเลือกใบลาน การเก็บรักษาและการนำใบลานมาเขียนหรือจาน จากนั้นก็จะใช้แท่งไม้เหลาลักษณะคล้ายดินสอ บริเวณหัวจะใช้เหล็กกล้าเป็นหัวคล้ายปากกา จากนั้นจะทำการจานหรือเขียนบนใบลาน เพื่อให้เป็นรอยตัวหนังสือ ซึ่งเป็นภาษาล้านนา และเสร็จแล้วก็จะนำชุบน้ำยางที่ผสมกับควันไฟ(หมิ่นหม้อ)ที่ทำการผสมแล้วทำการชุบทาบนใบลานที่เขียนแล้วนำไปลูบกับทรายละเอียดอีกรอบแล้วนำมาเช็ดกับผ้า

ซึ่งน้ำยางดังกล่าวจะมีความคงทนไม่จางหายไป และมีอายุทนทานนับร้อยปี ซึ่งถือว่าการจานคำภีร์ใบลาน ของวัดพระธาตุโพธิ์งามแห่งนี้ ถือได้ว่าน่าจะเป็นแห่งเดียวที่คงอนุรักษ์วัฒนธรรมดังกล่าวไว้ เพื่อไม่ให้สูญหายไป

อนันต์ ข่าวพะเยา

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้นักศึกษาพยาบาล ปีที่ 3 มช. รับรางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ ปี 65
บทความถัดไปสวนสัตว์เชียงใหม่จัดกิจกรรมวันแรดโลก ให้ “กาลิ” หนึ่งเดียวในประเทศไทย