เชียงใหม่ 17 มี.ค. 65 ที่ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอนุชา มีเกียรติชัยกุล หัวหน้าโครงการวิจัย ฯ /กรรมการบริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด) นายไพรัช โตวิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน ฝ่ายสังคม อ.ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ นักวิจัย/รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย นักวิจัย/ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดร.กรวรรณ สังขกร นักวิจัย/หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมคณะวิจัย เพื่อรายงานผลการดำเนินงานวิจัยโครงการ “การสร้างกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพในภาคเหนือให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวสู่ความยั่งยืน และยกระดับสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนระดับโลกหลังวิกฤตสถานการณ์ COVID – 19” ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และหารือแนวทางการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) และนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ Medicopolis ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการวิจัยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC)
สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญคือ จากจุดแข็งจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีสถานบริการโดยรวมมากถึง 1,534 แห่ง แบ่งเป็น 1. บริการด้านการแพทย์ (medical tourism hub) มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่เป็นของภาครัฐจำนวน 22 แห่ง ภาคเอกชน 15 แห่ง ศูนย์บริการผู้สูงอายุ 4 แห่ง มีบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ และเภสัชกรมากกว่า 8,000 คน 2. บริการสุขภาพ (wellness hub) มีสถานประกอบการสปา 48 แห่ง ร้านนวด 648 แห่ง บุคลากรมากกว่า 5,000 คน โรงเรียนนวดแผนไทย 14 แห่ง โดยแต่ละปีมีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาเรียนมากกว่า 10,000 คน 3. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (product hub) มีผู้ประกอบการด้านการแพทย์ อาหารเกษตรแปรรูป ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและวัฒนธรรมล้านนา และ 4.บริการการศึกษา อบรม วิจัย (academic hub) มากกว่า 10,000 คน ส่วนผู้ทำธุรกิจด้าน long stay ด้านสุขภาพ บริการที่พัก ท่องเที่ยว จำนวน 150 กิจการ
ซึ่งสร้างเงินหมุนเวียนในพื้นที่มากกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนที่เข้มแข็ง สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ได้ด้วยการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ กกร. และอุดมศึกษา และเป็นโอกาสขับเคลื่อนหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ซึ่งทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ย้ำว่า จะมึการการือผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมการฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากนี้โดยมีแนวทางตามยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นจุดแข็งสำคัญอีกด้านหนึ่งที่จะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก.
Like (0)