Show the World….Thai Hemp
สินค้าใยกัญชง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อนาคตไกล เน้นเทรนด์เป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาดา เมฆพัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และ อาจารย์นีรนาท ตาจุมปา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ เปิดเผยว่า รายงานความคืบหน้า หัวข้อที่ 2 คือ Creative Design สรุปได้ว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ให้ข้อมูลว่า โอกาสทางการค้าของเส้นใยกัญชง ซึ่งมีการวิเคราะห์ไว้ว่ามูลค่าตลาด ปี พ.ศ. 2567 คาดว่าจะสูงถึง 1.04 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยปัจจุบันตลาดที่ครองส่วนแบ่งตลาดเส้นใยกัญชงมากสุด คือ ยุโรป สัดส่วนประมาณ 37.6% รองลงมา คือ สหรัฐ 36.5% ส่วนประเทศที่มีพื้นที่การเพาะปลูกเส้นใยกัญชงมากที่สุด เช่น จีน แคนาดา สหรัฐอเมริกา ในขณะที่ประเทศที่ใช้เส้นใยกัญชงในการผลิตสินค้า ฉนวนกันความร้อน ผนังกันเสียง ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ส่วนประเทศที่ผลิตเส้นใยกัญชงและส่งออกไปต่างประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส เกาหลีเหนือ
ดังนั้นการปลูกกัญชงต้องคำนึงถึง สายพันธุ์ วิธีการ ระยะเวลาการเพาะปลูก หากปลูกเพื่อใช้ผลิตเส้นใยกัญชงนั้นใช้ระยะเวลา 90 วัน น้อยกว่ากัญชงที่ผลิตเพื่อเอาสารสกัดซึ่งใช้เวลา 180 วัน ประเทศไทยจำเป็นที่ต้องส่งเสริมและเพิ่มโอกาสให้ชัดเจน เพราะเชื่อว่าอนาคตเทรนด์สินค้าที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่ต้องการมากในอนาคต
ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อมให้มาก ตอนนี้มีผู้ประกอบการไทยเพียง 10 รายที่ผลิตสินค้าจากเส้นใยกัญชงส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชนผลิตเพื่อขายในประเทศให้กับนักท่องเที่ยว และยังต้องนำเข้าวัตถุดิบเส้นใยกัญชง เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่ม ในพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ศึกษาวิจัย พบว่า มีเพียงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย นางธัญพร ถนอมวรกุล (เฉ่า) ประธานกลุ่มฯ ที่ปลูกกัญชงเอง เรียกว่าทำเองตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ โดยใช้ภูมิปัญญาและงานฝีมือของชาวม้ง เช่น การปักผ้าลายม้ง การเขียนเทียนผ้าลายขี้ผึ้ง ฯลฯ ส่วนอีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตภัณฑ์ใยกัญชงทรายทอง นำโดย นางนวลศรี พร้อมใจ ประธานกลุ่มฯ
ซึ่งได้เข้าร่วมอบรมและงานต่างๆระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น อบรมการออกแบบและตัดเย็บ ภายใต้โครงการฝ้ายทอใจ จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (sacit) / อบรมภายใต้โครงการ IDACA จากประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย โดยสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย / การอบรมการออกแบบผ้าลายขอเจ้าฟ้าหญิงสิริวัณณวรีฯ สู่หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) / การอบรมหลักสูตร ออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการกลุ่ม จัดโดยสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
/ งาน Check In ฟิน with Craft 12 ชุมชน เรียนรู้หัตถกรรม Craft Communities ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (sacit) / งาน The Power Community Fair พลังคนไทย พลังชุมชนไทย จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับบริษัท คิง เพาเวอร์ /กิจกรรมพัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ(Design Savvy) จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
/ โครงการ ASPARA FASHION WEEK ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ของแคว้นอะคิมัท เมืองทาราซ ประเทศคาซัคสถาน/การฝึกอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ Creative Thailand จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและโครเซต์บ้านห้วยทราย นำโดย นางสมศรี ทองคำ ประธานกลุ่มฯ ซึ่งทั้งสองกลุ่ม ยอมรับว่า ไม่ได้ปลูกกัญชงเอง จึงต้องซื้อวัตถุดิบเส้นใยกัญชงจาก ลาว พม่า และจีน เพราะมีราคาถูกกว่าในประเทศ ซึ่งมีผลผลิตน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
จึงต้องหาจุดเด่น สร้างโดดเด่นด้วยการนำเส้นใยกัญชงธรรมชาติ มาเพิ่มมูลค่าโดยการใช้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมในการย้อมสีธรรมชาติ เช่น ใบมะม่วง +ครามย้อมจาก ครามโทนอ่อน(ฟ้าอ่อน) + น้ำต้มใบมะม่วง /ใบมะม่วง ย้อมจากน้ำต้มใบมะม่วง +สารส้ม /ดาวเรือง ย้อมจากดอกดาวเรืองปริมาณเยอะ + สารส้ม /ฝาง1+ ปูนต้มน้ำฝางรอบ 1 + น้ำด่างปูนใส (ได้สีม่วงเข้ม)/ฝาง+เปลือกไม้ น้ำต้มฝางที่ต้มเส้นใยแล้ว 2 รอบ มาผสมน้ำต้มเปลือกไม้/ดาวเรืองฝาง น้ำต้มดอกดาวเรือง + น้ำต้มฝาง(แดง)/ฝางเข้ม(แดง) ต้มเส้นใยในน้ำฝางหมักไว้ 1 คืน ล้างออก/ฝาง 1 ต้มรอบที่ 1/ฝาง 2 ต้มรอบที่ 2 หลังจากต้มน้ำ 2 แล้ว/ดาวเรืองสนิม ต้มดอกดาวเรือง + น้ำสนิม/เปลือกมะพร้าว เอาเปลือกมะพร้าวสด + ใส่น้ำสนิม/เปลือกไม้ 1 ต้มย้อม 1 รอบ/เปลือกไม้ 2 ต้มย้อม 2 รอบ ย้อมรอบที่ 2/เปลือกไม้สนิม น้ำเปลือกไม้ + น้ำสนิม เป็นต้น
กล่าวได้ว่า เป็นการนำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อยอดด้วยงานฝีมือ เช่น การถักนิตติ้ง การถักโครเชต์ การปักลวดลาย เช่น นกยูง ผีเสื้อ ดอกไม้ ทั้งนี้อาจมีการผสมผสานกับผ้าใยกัญชง ผ้าฝ้าย เป็นต้น สรุปคือ ผลิตภัณฑ์ใยกัญชงของกลุ่มวิสาหกิจ 3 แห่งในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ล้วนเป็นงานฝีมือ ที่ทำด้วยฝีมือและจิตใจของช่างฝีมือ
ทั้งนี้ ได้มีการประยุกต์ให้โดดเด่นขึ้น โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ (Creative Design) โดยคาดหวังว่า จะสามารถทำให้ผลงานเป็นที่ถูกใจสำหรับลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ เชื่อว่า สินค้าใยกัญชง จะไปไกลในตลาดโลกได้ เพราะนอกจากงานฝีมือแล้ว คุณสมบัติพิเศษของใยกัญชง ที่โดดเด่นมาก คือ สามารถป้องกัน รังสียูวีได้ 95 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันไรฝุ่น ป้องกันเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย ระบายอากาศได้ดี เมื่อสวมใส่แล้วช่วยให้ร่างกายมีอุณหภูมิเย็นขึ้น แข็งแรงกว่าผ้าฝ้าย 8 เท่า และ เมื่อนำมาผลิตเป็นหน้ากากอนามัย สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 และ โควิด-19 ด้วย
ผศ.บงกช กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ต้องขอบพระคุณความร่วมมือจากนายแบบ –นางแบบกิตติมศักดิ์ ที่ให้เกียรติทีมวิจัยและช่วยเหลือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างดี เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าใยกัญชงไทย ให้ดังไกล ไปทั่วโลก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 ณ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ นายแสงทอง อนันตภักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่/ นางเหมือนใจ วงศ์ใหญ่ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่
/ นางนันทนา อินหลี ศรีสุข หัวหน้าฝ่ายรายการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ / นายเจริญ สีวาโย พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่/ นายภัควัต ขันธหิรัญ นายอำเภอแม่ริม / นางสาวณฐมน ชื่นดวง กรรมการผู้จัดการบริษัทเชียงใหม่มีเดียกรุ๊ป และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ / นางสาว ชนนิกานต์ สุพิทยาพร นางสาวเชียงใหม่ ประจำปี 2564 ทั้งนี้การประเมินระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ ตลอดจนข้อเสนอแนะจากทุกท่าน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะถูกนำมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนปรับปรุงต่อไปในอนาคต เพื่อตอบโจทย์ประเด็น Show the World….Thai Hemp ”
ส่วนหนึ่งจากงานวิจัยเรื่อง “การต่อยอดองค์ความรู้สู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์กัญชงด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ( Extension Knowledge to Innovative Hemp Products with the Creative Economy in Chiang Mai ) นับเป็นการบูรณาการร่วมกันของ 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ / มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก เครือข่ายวิจัยภูมิภาค สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564
Like (0)