หน้าแรก ไม่มีหมวดหมู่ ชมรมเพลินไทยสมัยนิยม ร่วมกิจกรรม “สืบสานปณิธานพระเจ้าอินทวิชยานนท์-อินทนนท์โมเดล”

ชมรมเพลินไทยสมัยนิยม ร่วมกิจกรรม “สืบสานปณิธานพระเจ้าอินทวิชยานนท์-อินทนนท์โมเดล”

644
0

คลิปวีดีโอ

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 ชมรมเพลินไทยสมัยนิยม นำโดย ม.ล. ปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ประธานชมรมเพลินไทยสมัยนิยมและคณะ,มูลนิธิกล้วยไม้ไทยและกลุ่มสร้างสรรค์สังคม ร่วมกิจกรรม “สืบสานปณิธานพระเจ้าอินทวิชยานนท์-อินทนนท์โมเดล”

โดยจุดแรกที่ทางคณะได้เดินทางมาที่โรงเรียนจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมชม และติดตามการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้โครงการพื้นที่ต้นแบบดอยอินทนนท์ (อินทนนท์โมเดล) โดยมี นายพิพัฒน์ สายสอน ผู้อำนวยการโรงเรียนจอมทอง และนายสมปอง เกล็ดจีน นายกสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจอมทอง กล่าวต้อนรับคณะ

จากนั้นร่วมกันปล่อยกล้วยไม้ไทยคืนสู่ธรรมชาติ และเยี่ยมชมนิทรรศการศูนย์การเรียนรู้ฯ โดยมี อาจารย์วัฒนา วชิโรดม เลขานุการโครงการอินทนนท์โมเดล ได้บรรยายโครงการต่างๆให้ทางคณะได้ทราบ

ซึ่งความสำคัญของดอยอินทนนท์นั้น ถือเป็นยอดเขาสูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยหลวงอ่างกา” สภาพภูมิประเทศทั่วไปของดอยอินทนนท์ประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีภูมิอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีพืชพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สภาพป่า เป็นป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของลำห้วยมากกว่า 10 สาย ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำปิง มีพื้นที่จำนวน 784,729 ไร่ ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ

ในอดีตดอยอินทนนท์มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของชาวจอมทองที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตอนล่างมากกว่า 100,000 ไร่ และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคของประชากรของอำเภอจอมทอง ปัจจุบันเมื่อเวลาผ่านไปได้เกิดปัญหาต่างๆ เช้น ภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ , ภัยแล้ง,สถานการณ์ไฟป่า อีกทั้งยังเกิดฝุ่นควันทำให้ประชาชนต่างได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก

จึงเกิดความร่วมมือหลายภาคส่วนได้จัดทำโครงการอินทนนท์โมเดล เพื่อป้องกันกันแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และแก้ไขปัญหาพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์และพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในสามของโครงการนำร่องฯของจังหวัดเชียงใหม่ (อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา) เพื่อให้ป่าดอยอินทนนท์กลับมามีชีวิตและความสมบูรณ์เหมือนเดิม

จากนั้นทางคณะฯได้เดินทางไปยัง ดอยอินทนนท์ เพื่อร่วมกิจกรรม สืบสานปณิธานพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้จัดพิธีเพื่อสักการะพระสถูปพระเจ้าอินทวิชยานนท์ โดยมี เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ ประธานมูลนิธิเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ และ คุณไพเราะ แสนมงคล กลุ่มสร้างสรรค์สังคมและผู้ประสานงานกิจกรรม ได้ให้เกียรติบรรยายถึงเรื่องราวความเป็นมา

ซึ่งดอยอินทนนท์ เป็นชื่อของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ความรักและห่วงใยป่าธรรมชาติของดอยอ่างกาหลวงและป่าทางภาคเหนือเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังจากพระองค์เสด็จพิราลัย พระราชธิดาพระราชชายาดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญพระอัฐิส่วนหนึ่งของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ พระสถูปฯ บนยอดดอยหลวง ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ดอยอินทนนท์”ตามพระนามของพระองค์

ในท้ายสุดทางคณะฯได้เดินชมเส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกาหลวง ชมป่าพรุดึกดำบรรพ์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย ท่ามกลางอากาศเย็นสบายของดอยอินทนนท์ สร้างความประทับใจให้กับคณะเป็นอย่างมาก

พัชรินทร์/นที ข่าวมุมเหนือ รายงาน

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้9 ธันวาคม วันพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ณ วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม
บทความถัดไปลวดลายศิลปะนับกว่าพันปี ตำนานเครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง