หน้าแรก ข่าวเชียงใหม่ คุ้มเสือ แม่ริม จัด พิธีไหว้ครูพยัคฆราช (พญาเสือ) ประจำปี 2565 สร้างบารมี

คุ้มเสือ แม่ริม จัด พิธีไหว้ครูพยัคฆราช (พญาเสือ) ประจำปี 2565 สร้างบารมี

545
0

วันนี้ (12 พ.ย. 2565) เวลา 9.00 น. ณ คุ้มเสือแม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้มีการจัดพิธีไหว้ครูพยัคฆราช (พญาเสือ) ประจำปี 2565 ด้วยความเชื่อว่าจะนำพลัง หนุนอำนาจ เสริมวาสนา สร้างบารมี โดยมีพลตรีหญิง กชกร ไชยบุตร กรรมการบริษัทคุ้มเสือตระการจำกัด เป็นประธานการจัดงานในครั้งนี้พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติจำนวนมาก

เนื่องจากคุ้มเสือ (Tiger Kingdom) แม่ริม เชียงใหม่ จัดพิธีไหว้ครูเสือประจำทุกปี เพื่อแสดงความเคารพและกตเวทิตาคุณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทสรรพวิชาในการดูแลอภิบาลปกป้องคุ้มครองบรรดาเสือ ผู้ดูแลเสือ รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา ทางคุ้มเสือจึงจำเป็นต้องงดจัดพิธีเป็นเวลาติดต่อกันหลายปี จนกระทั่งในปี 2565 นี้ เมื่อทางภาครัฐมีนโยบายกลับมาฟื้นฟูและส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงเป็นโอกาสสำคัญที่คุ้มเสือ แม่ริม เชียงใหม่ ได้กลับมาจัดพิธีไหว้ครูเสืออีกครั้งเพื่อสืบสานธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งเคยยึดถือปฏิบัติสืบมา ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม และกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งซบเซาลงจากผลกระทบของโรคดังกล่าว

ซึ่งพิธีไหว้ครูพยัคฆราช (ไหว้ครูเสือ) เป็นการรื้อฟื้นนำเอาภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สั่งสมองค์ความรู้กันมาหลายชั่วรุ่นเป็นแกนกลางในการจัดพิธีกรรม เพื่อให้อวลไปด้วยความศรัทธา ความยิ่งใหญ่ และสวยงามท่ามกลางวงล้อมของบรรดาเสือโคร่ง ทั้งนี้สามารถสัมผัสได้ถึงพลังแห่งชีวิตและจิตญญาณแห่งอำนาจบารมีแห่งเสือ โดยมุ่งหวังให้กิจกรรมไหวัครูเสือนี้สามารถพัฒนาไปเป็นกิจกรรมประจำปีซึ่งบรรจอยู่ในปฏิทินท่องเที่ยวประจำปีของทางอำภอแมริมและทางจังหวัดเชียงใหมในอนาคต

นอกจากนี้พิธีไหว้ครูเสือยังเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเสือ เพื่อจัดทำเป็นคู่มือเรียนรู้เชิงบูรณาการและเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเสือ ตามนโยบายของทางองค์กรไทเกอร์คิงดอม (Tiger Kingdom) อีกด้วย

พิธีไหว้ครูเสือ จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยประยุกต์และวัฒนธรรมล้านนา โดยจัดให้มีพิธีสักการะบูชาทั้งในภาคพิธีสงฆ์ โดยพระเถราจารย์ และพิธีท้องถิ่นโดยพฤฒาจารย์ผู้ทรงความรู้

โดยความเป็นมาของ นรพยัคฆะ (ครูเสือเผือก)เจ้าป่าพญาแห่งพงไพร คงหนีไม่พ้นราชาแห่งสัตว์สี่เท้าที่เราเรียกกันว่า “เสือ” เสือมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับมนุษย์มาเนิ่นนาน ด้วยความองอาจอันน่าเกรงขาม พละกำลังมหาศาล ความสุขมลุ่มลึกในทุกย่างก้าว และล่าเนื้อทุกชนิดเป็นอาหาร จึงทำให้เป็นที่เกรงกลัวในตบะเดชะ หลายๆประโยคที่เรามักได้ยินอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน เช่น ใครดุมากเราก็จะเปรียบว่า “ดูอย่างกับเสือ” และใครมีพละกำลังแข็งแรงเราก็จะเปรียบว่า “แรง ราวกับเสือที่ตะปบลากวัวควายใหญ่ ไปกินได้อย่างสบายอุรา” เป็นต้น

ในทางคติความเชื่อทางล้านนาและไทใหญ่ มักจะยกเสือว่าเป็นเจ้าแห่งพงไพร เป็นที่ความยำเกรง และเป็นเจ้าป๋าที่มีคุณพิเศษหลายประการ ยกให้เสือ เป็นใหญ่กว่าสัตว์สี่เท้าทั้งปวง ทั้งยังมีความเชื่อ ความศรัทธาเกียวกับเสือ โดยยึดเข้ากับสายครูชนิดหนึ่งเรียกกันว่า ครูนรพยัคมะ (ครูเสือเผือก) ซึ่งจะมียาสักโดยเฉพาะ ที่ขึ้นรูปผูกยันต์เป็นรูปเสือ สักลงบนร่างกายเพื่อเพิ่มพูนคุณ วิเศษให้มาอยู่ในตัวตน ไว่าจะเป็นยันต์เสือเผ่น เสือ 7 ป๊อด เสือเย็น เป็นตัน ซึ่งให้พุทธคุณแตกต่างกันไป แต่ยังยืดหลักเดิมคือ ปิยะเมตตา กับมหาอำนาจนั่นเอง

1.การไหว้ครูพยัคฆราช คือ การแสดงความเคารพและน้อมรำลึกถึงพระคุณของบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูบาอาจารย์ผู้ประสาทสรรพวิซาในการอภิบาลคุ้มครองบรรดาเสือโคร่ง ผู้ดูแล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อทุกท่านให้ร่มเย็นเป็นสุข โดยเฉพาะองค์ปู่เจ้าสมิงพราย บรมครูเสือผู้ทรงไว้ซึ่งสรรพวิชาและสรรพาคมอันแก่กล้า เป็นที่เคารพของชาวไทยมาแต่เดิม ดังปรากฏเรื่องราวอิทธิฤทธิ์ของท่านในลิลิตพระลอ วรรณกรรมที่เก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย

2.พิธีครอบครู คือ การอัญเชิญบุญญาบารมีของบรรดาครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้ในวิทยาการด้านต่าง ๆ มาสถิตเพื่อปกปักรักษาและคุ้มครองทุกท่านที่ตั้งเจตจำนงเข้ารับการครอบครู

3.พิธีสักยันต์และลง นะ หน้าทอง เปรียบเสมือนอาภรณ์ประดับกายชิ้นหนึ่งซึ่งทรงพลังอำนาจ บันดาลให้เกิดบารมี และเมตตามหานิยมต่อผู้น้อมรับไว้วิชากับตัว โดยในพิธีนี้มีการสักยันพญาเสือเผือก ถือกันว่าเป็นราชาแห่งบรรดาเสือทั้งหลายเปี่ยมไปด้วยอำนาจบารมี และมตตาที่สูงสง พร้อมทั้งเชิญพลังปราณแห่งบรรดาเสือโคร่งในมณฑลพิธีเข้ามาสถิตบนอักขระยันต์แห่งพญาเสือเผือก ส่วนพิธีลง นะ หน้าทองนั้น ถือกันว่าเป็นเสริมบารมีด้วยอำนาจพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ให้เป็นที่รักใคร่เมตตาแก่ผู้พบเห็น

4.การถักประเจียดมงคลและไหว้ครูมวยไทย มวยไทยถือเป็นศิลปะป้องกันตัวที่สืบทอดมากับคนไทยเป็นเวลาช้านาน การไหว้ครูถือเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรดาครูผู้สืบทอดสั่งสอนวิชา และเป็นการอัญเชิญครูทั้งหลายให้มาสถิตเพื่อประทานความแข็งแกร่งยืนยงคงกระพันชาตรีให้แก่ผู้ไหวัครู ขณะที่ผ้าประเขียดซึ่งได้รับการถักโดยครูมวยนั้น มีการเสกคาถาและได้รับการอธิษฐานจิต โดยพระเถราจารย์ เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันศัดรูผู้คิดร้าย และเสริมความเข้มแข็งทั้งทางกายและใจสำหรับผู้สวมใส

5.นิทรรศการเสือ: จิตวิญญาณแห่งสังคมไทย เป็นนิทรรศการให้ความรู้แก่ผู้ร่วมงานเกี่ยวกับพิธีกรรมไหวัครูเสือ ธรรมเนียมจารีต ความเชื่อที่เกี่ยวกับเสือในสังคมไทยและสังคมเอเชีย

6.กิจกรรมรับพลังเสือ (Power spo t)เป็นกิจกรรมประยุกต์ระหว่างกิจกรรมเชิงอนุรักษ์และเชิงวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพันธุ์เสือประเภทต่าง ๆ ควบคู่ไปกับความเชื่อเกี่ยวกับพลังอำนาจในเสือสายพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ เสือโคร่งขาว (สัญลักษณ์แห่งเทพประจำทิศตะวันตกและเทพผู้ปราบอธรมในความเชื่อจีนและญี่ปุ่น) พญาเสือโคร่ง (สัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจและบารมีตามความเชื่อของซาวไทย) และเสือโคร่งทอง ธาตุน้ำ เสือโคร่งประจำปีเสือ 2565

7.พิธีอธิษฐานจิตวัตถุมงคลพยัคฆ์บารมี รุ่น 2 จัดสร้างเพื่อเป็นเครื่องรางสิริมงคลติดตัว ซึ่งได้รับการอธิษฐานจิตโดยพระเถราจารย์หลายรูปและหลายวาระ วัตถุมงคลพยัคฆ์บารมียังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์เสือ เนื่องจากสร้างขึ้นโดยวัสดุและมวลสารมงคลแทนที่การใช้เขี้ยวเสือ หนังเสือ หรืออวัยวะจากร่างกายเสือจริง ๆ

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้ทีเส็บภาคเหนือรุก City Marketing จังหวัดเชียงใหม่ผ่านแพลตฟอร์ม TAGTHAI
บทความถัดไปSUN ต้อนรับ รมว.คลัง ร่วมขับเคลื่อนโมเดล BCG สู่เป้าหมาย Net Zero Emission