เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 26 ส.ค 64 ฝ่ายประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โพสต์ข้อความลงทางไลน์สื่อมวลชนแม่ฮ่องสอน ระบุข้อความว่า “ ถ้ารู้จะบริหารกันไม่ได้จนไปเพิ่มภาระการเดินทางไกลให้กับประชาชน อบจ.จะไม่ซื้อเด็ดขาด “ พร้อมย้ำ “ อบจ. ทำได้แค่ซื้อเท่านั้น อยากทำได้มากกว่านั้นแต่ไม่มีอำนาจสั่ง “
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังฝ่ายประชาสัมพันธ์ อบจ.แม่ฮ่องสอน ทราบว่าการโพลต์ข้อความดังกล่าว สืบเนื่องจากทาง อบจ.แม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์มจากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้ามาทำการฉีดให้กับชาวแม่ฮ่องสอน จำนวน 11,000 โดส หรือประมาณ 5,500 คน โดยก่อนหน้านี้ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มมาล็อตแรก 1,000 โดสฉีดให้กับกลุ่มพระสงฆ์ นักบวชและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสไปแล้ว 500 ราย โดยมีโรงพยาบาลเพียง 2 แห่งที่ลงทะเบียนกับทางราชวิทยาลัยจฬาภรณ์ผ่านและได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีน คือ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน และโรงพยาบาลขุนยวม อ.ขุนยวม
ซึ่งผู้มีรายชื่อรับการฉีดวัคซีนทั้ง 7 อำเภอจะต้องเดินทางมารับวัคซีนได้เฉพาะ 2 โรงพยาบาลนี้เท่านั้น เนื่องจากโรงพยาบาลอีก 5 อำเภอไม่สามารถลงทะเบียนกับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ผ่านได้ จึงทำให้ชาวบ้านบางพื้นที่ต้องเดินทางมาฉีดวัคซีนในระยะทางที่ไกลขึ้น เนื่องจากทั้ง 2 โรงพยาบาลไม่สามารถกระจายวัคซีนลงไปได้เพราะผิดต่อระเบียบและแนวทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการฉีดวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์ม ล็อตที่ 2 จำนวน 10,000 โดสสำหรับ 5,000 คน ยังไม่ได้รับวัคซีน เนื่องจากทาง อบจ.แม่ฮ่องสอน ไม่สามารถส่งรายชื่อผู้รับวัคซีนไปให้กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ เนื่องจากสาธารณสุขอำเภอ และสาธารณสุขจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยงานหลักยังไม่สามารถรวบรวมรายชื่อได้ครบทั้ง 5,000 คน ยังขาดอยู่ประมาณ 900 กว่าคน จึงทำให้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไม่สามารถส่งวัคซีนมาให้ได้ทั้งที่จ่ายเงินไปหมดแล้ว จนมีประชาชนจำนวนมากโทรเข้ามาสอบถามทาง อบจ.แม่ฮ่องสอน ว่าจะได้ฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ต้องไปฉีดที่ใหน ลงทะเบียนยังไง คำถามมากมายได้เกิดขึ้นหลังจากทุกคนรู้ว่า อบจ.แม่ฮ่องสอนสั่งซื้อวัคซีนโนฟาร์ม
ขณะที่นายอัครเดช วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โพสต์ข้อความในเพจส่วนตัว ชี้แจงกรณีวัคซีนซิโนฟาร์มว่า อบจ.แม่ฮ่องสอน มีเพียงหน้าที่จัดหา จอง และจ่ายเงินค่าวัคซีนเท่านั้น เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากผลการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ทำให้ อบจ. รู้ว่าจะต้องซื้อสำหรับใครในจำนวนกี่โดส ส่วนเรื่องการรับสมัครผู้รับวัคซีน การตรวจสอบข้อมูล และการดำเนินการฉีดวัคซีนเป็นหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เพราะเขามีระบบ มีประวัติว่าใครเคยรับวัคซีนอะไรมามาแล้วบ้าง ทาง อบจ.แม่ฮ่องสอน ไม่สามารถไปสั่งการหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในสำนักงานเดียวกันได้ และหลังทราบว่ามีเพียงโรงพยาบาล 2 แห่งที่ลงทะเบียนผ่านสามารถฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับชาวแม่ฮ่องสอนได้นั้น ทาง อบจ.ก็ไม่สะบายใจ เนื่องจากตะหนักดีว่าสภาพพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างไร อำเภอที่ใกล้สุดจะเข้ามาอำเภอเมือง ยังต้องใช้เวลาไปกลับไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ส่วนอำเภอที่ไกลสุดอย่างรวดเร็วสุดก็ 7 ชั่วโมง นอกจากจะต้องใช้เวลานานแล้วยังต้องเสียค่ารถ เกิดความเสี่ยงเป็นภาระกับประชาชน .
โชติ นรามณฑล แม่ฮ่องสอน
Like (0)