หน้าแรก ข่าวการศึกษา มช. จับมือ ม. การท่องเที่ยวเสฉวน ร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอัจฉริยะ

มช. จับมือ ม. การท่องเที่ยวเสฉวน ร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอัจฉริยะ

291
0

มช. จับมือ ม. การท่องเที่ยวเสฉวน ร่วมผลักดันการท่องเที่ยวอัจฉริยะ

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ ทันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศาสตราจารย์ Lu Yi อธิการบดี มหาวิทยาลัยการท่องเที่ยวเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ( แบบออนไลน์) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism) ระหว่างมหาวิทยาลัย โดยมีกิจกรรมภายใต้ข้อตกลงฯ คือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยภายใต้กรอบหลักสูตรเชิงวิชาการพิเศษ การทำวิจัยร่วม การจัดบรรยาย ประชุมสัมมนา การประชุมวิชาการ และการพัฒนาบุคลากรที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวอัจฉริยะ เพื่อเป็นการบริการแก่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติ ตลอดจนการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

มหาวิทยาลัยการท่องเที่ยวเสฉวน ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในระดับปริญญาตรีด้านการท่องเที่ยว ตั้งอยู่ในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน มีประชากรมากกว่า 5,000,000 คน มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี มากกว่า 8,800 คนเปิดสอนหลักสูตรและโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในหลายสาขาวิชา เช่น คณะสอนทำอาหาร คณะการอาหาร คณะการจัดการโรงแรมฮิลตัน วิทยาลัยกีฬาและสันทนาการ วิทยาลัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม คณะเศรษฐศาสตร์และการจัดการ คณะภาษาต่างประเทศคณะสารสนเทศและวิศวกรรม วิทยาลัยศิลปะ คณะลัทธิมาร์กซ์ วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง

ซึ่งคณะการจัดการโรงแรมฮิลตันถือเป็นวิทยาลัยแห่งที่สองในโลกที่ก่อตั้งโดย Sichuan Tourism University มีการบูรณาการความร่วมมือกับโรงเรียนและองค์กรการศึกษาระหว่างประเทศ และเป็นหนึ่งใน 100 วิทยาลัยที่มีโครงการการศึกษาแบบบูรณาการและการพัฒนาระดับปริญญาตรีประยุกต์ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรชั้นนำในต่างประเทศ เช่น University of Perugia, Ducai Hotel Management School, Toulouse Hotel Management School และ University of Edinburgh และความร่วมมือมาอย่างยาวนานกับประเทศสิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

การลงนามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะเป็นโอกาสในการส่งเสริมความเข้าใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ด้วยความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเชิงลึก ผลิตบัณฑิตที่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมจีนและไทย ตลอดจนการพัฒนาและเพิ่มพูนความสามารถเชิงนวัตกรรมดิจิทัลและการท่องเที่ยวอัจฉริยะให้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศให้ยั่งยืนสืบไป

Like (0)
บทความก่อนหน้านี้สทนช. เร่งจัดระบบผังน้ำลุ่มน้ำภาคเหนือ แก้ปัญหาขาดแคลน-กักเก็บน้ำพื้นที่เสี่ยง
บทความถัดไปเทศบาลนครเชียงใหม่ จับมือภาคีฯ เปิดแอปพลิเคชั่น “ช่วยเหลือชาวบ้าน”